Equity Crowdfunding Fact Sheet โดย ก.ล.ต.
1. Equity Crowdfunding เป็นช่องทางหนึ่งที่จะช่วยให้ SMEs หรือ business startup (issuer) สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ด้วยการให้หุ้นของบริษัทเป็นสิ่งตอบแทนแก่มวลชน (the crowd) ที่ลงทุนกันคนละเล็กละน้อยผ่านเว็บไซต์ตัวกลาง (funding portal) โดยมีมูลค่าการระดมทุน (issue size) ที่ไม่สูงมาก ดังนั้น Equity Crowdfunding จึงเหมาะกับการระดมทุนของบริษัทที่อยู่ในช่วงเริ่มต้นที่ไม่ต้องการทุนมากนัก
2. การที่ Equity Crowdfunding ให้หุ้นที่ออกใหม่ของบริษัทเป็นสิ่งตอบแทนแก่ผู้ลงทุน จึงถือเป็นการเสนอขายหุ้นต่อประชาชนรูปแบบหนึ่งที่จะต้องได้รับอนุญาตจาก ก.ล.ต. อย่างไรก็ตาม เนื่องจาก SMEs ส่วนใหญ่ แม้มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจของประเทศ แต่ปัจจุบันอาจมีปัญหาการเข้าถืงแหล่งเงินทุนเนื่องจากยังอยู่ในช่วงเริ่มต้นธุรกิจ ไม่มีหลักประกันที่เอามาใช้ในการกู้ยืม ดังนั้น ก.ล.ต. จึงได้มีนโยบายสนับสนุนให้ SMEs มีช่องทางเลือกในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนจากตลาดทุนเพิ่มเติม ทั้งนี้ การกำกับดูแลจะต้องไม่สร้างภาระและต้นทุนที่สูงจนเกินไปจนเป็นอุปสรรคต่อการระดมทุนของ SMEs ในขณะเดียวกันผู้ลงทุนยังต้องได้รับความคุ้มครองในระดับที่เหมาะสม
3. สำนักงาน ก.ล.ต. จึงใช้แนวทางกำกับดูแลแบบผ่อนคลายสำหรับการเสนอขายหุ้นแบบ Equity Crowdfunding กล่าวคือ
3.1 ในด้านบริษัทที่เสนอขายหุ้น: บริษัทที่ต้องการระดมทุน (ซึ่งเป็นได้ทั้งบริษัทจำกัดและบริษัทมหาชนจำกัด) จะต้องเสนอขายหุ้นผ่าน funding portal ที่ได้รับความเห็นชอบจาก ก.ล.ต. เท่านั้น จึงจะถือว่าการเสนอขายหุ้นได้รับอนุญาตจาก ก.ล.ต. โดยบริษัทมีหน้าที่และรับผิดชอบเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับตัวบริษัทและการนำเงินไปใช้ในโครงการ โดยที่ ก.ล.ต. จะไม่ได้เข้าไปกลั่นกรองคุณสมบัติของบริษัทที่เสนอขายหุ้น ดังนั้น funding portal จึงมีบทบาทสำคัญในการทำหน้าที่คัดสรรบริษัทที่น่าเชื่อถือมาเสนอขายหุ้น จัดให้มีช่องทางรองรับการเปิดเผยข้อมูลของบริษัท การจองซื้อหุ้น และการสื่อสารระหว่างบริษัทและผู้ลงทุน รวมทั้งการให้ความรู้แก่สมาชิกที่เข้ามาลงทุน
3.2 ในด้านผู้ลงทุน : เนื่องจากธุรกิจที่เข้ามาระดมทุนด้วยวิธี Equity Crowdfunding เป็นธุรกิจที่อยู่ในช่วงเริ่มต้น จึงยังมีความเสี่ยงสูงต่อความอยู่รอดของธุรกิจ และหากเป็น startup โอกาสที่จะประสบความสำเร็จภายใต้โครงการอาจจะไม่มากนัก (ในต่างประเทศมีความสำเร็จเฉลี่ยเพียง 20-30%) ในขณะที่อาจสามารถสร้างผลตอบแทนให้แก่ผู้ลงทุนได้สูงมากจนคุ้มกับส่วนที่สูญเสียไป ดังนั้น ผู้ที่ต้องการลงทุนผ่านช่องทางนี้จึงต้องเข้าใจถึงความเสี่ยงและดูแลตนเองมากขึ้น โดย ก.ล.ต.ได้ออกเกณฑ์มาเพื่อจำกัดระดับความเสี่ยงหรือความเสียหายในการลงทุนไว้ในระดับหนึ่ง ทั้งในรูปของวงเงินการลงทุน (investment limit) สำหรับนักลงทุนรายย่อย และวงเงินการระดมทุน (issue size) สำหรับผู้ระดมทุน
อนึ่ง แม้ว่า ก.ล.ต. จะมีกฎเกณฑ์ที่ช่วยจำกัดความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นกับผู้ลงทุนรายย่อย ไว้ก็ตามแต่ผู้ลงทุนจะต้องศึกษาข้อมูล ทำความเข้าใจกับความเสี่ยงของธุรกิจ และการลงทุนแบบ Equity Crowdfunding ด้วย เช่น ความเสี่ยงที่อาจจะสูญเงินจากการลงทุนทั้งจำนวน บริษัทอาจจะจ่ายหรือไม่จ่ายเงินปันผลก็ได้ หุ้นที่ซื้อไม่มีตลาดรอง เป็นต้น
ทั้งนี้ เพื่อเป็นเครื่องมือให้นักลงทุนรายย่อยได้ทำความเข้าใจเกี่ยวกับความเสี่ยงที่กล่าว ก.ล.ต.จึงได้กำหนดให้ funding portal จะต้องจัดทำการทดสอบความรู้ด้านการลงทุน (Knowledge Test) เพื่อให้แน่ใจว่าผู้ลงทุนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความเสี่ยง รวมทั้งเตือนให้ผู้ลงทุนให้ระมัดระวังก่อนตัดสินใจลงทุนอีกทางหนึ่งด้วย
4. ปัจจุบัน แม้ว่า ก.ล.ต. ได้ออกกฎเกณฑ์รองรับ Equity Crowdfunding แล้วก็ตาม แต่ความสำเร็จของ Equity Crowdfunding จะต้องเกิดขึ้นจากความร่วมมือของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ตั้งแต่ (1) Funding Portal ซึ่งจะทำหน้าที่คัดสรรบริษัทที่น่าเชื่อถือมาระดมทุน (ทั้งในด้านของการทำธุรกิจและการเปิดเผยข้อมูลที่เพียงพอต่อการตัดสินใจลงทุน) จัดให้มี platform การเปิดเผยข้อมูลและจองซื้อหุ้นที่เชื่อถือได้ รวมถึงจัดให้มีช่องทางให้ผู้ระดมทุนกับผู้ลงทุนได้สื่อสารกัน (2) Issuer ที่มีความตั้งใจจริงที่จะนำเงินที่ได้รับจากการระดมทุนไปดำเนินงานตามแผนธุรกิจที่ได้นำเสนอไว้ และสื่อสารเป็นระยะเพื่อให้ผู้ลงทุนสามารถติดตามความคืบหน้าของบริษัท และ (3) Investor ที่มีความรู้และเข้าใจเกี่ยวกับความเสี่ยงในการลงทุนผ่าน Equity Crowdfunding รวมทั้งรับผิดชอบในการประเมินตัวเองว่ายอมรับความเสี่ยงเหล่านั้นได้หรือไม่ก่อนที่จะลงทุน
5. สำหรับผู้ที่สนใจเป็น Funding portal ก.ล.ต. ยินดีให้คำปรึกษา โดยสามารถเข้ามาพูดคุยหารือได้ โดยติดต่อฝ่ายใบอนุญาตธุรกิจตัวกลางและส่งเสริมธุรกิจ SME ดังนี้
คุณบุตรี หวังศิริรุ่งเรือง โทร 0-2263-6047
คุณภูมินทร์ มีถาวรกุล โทร 0-2263-6538
คุณณัฐฐิรา จิรเสวีนุประพันธ์ โทร 0-2695-9562
1 จำกัดเฉพาะกรณีนักลงทุนรายย่อย โดยกำหนดวงเงินให้ลงทุนได้ไม่เกินรายละ 50,000 บาทต่อบริษัท และรวมแล้วไม่เกินปีละ 500,000 บาท ทั้งนี้ ในกรณีที่มีการระดมทุนจากผู้ลงทุนที่มีความรู้และประสบการณ์ด้านการลงทุนอยู่แล้ว (non-retail investors) เช่น ผู้ลงทุนสถาบัน Venture capital ผู้ลงทุนที่มีลักษณะเฉพาะ เป็นต้น จะไม่มีข้อจำกัดในด้านวงเงินการลงทุน
2 จำกัดวงเงินเฉพาะการระดมทุนจากนักลงทุนรายย่อย โดยกำหนดมูลค่าที่บริษัทจะระดมทุนจากผู้ลงทุนรายย่อยได้รวมไม่เกินบริษัทละ 40 ล้านบาท โดยในปีแรกต้องไม่เกิน 20 ล้านบาท ทั้งนี้ ในกรณีที่มีการระดมทุนจากผู้ลงทุนที่มีความรู้และประสบการณ์ด้านการลงทุนอยู่แล้ว (non-retail investors) จะไม่มีข้อจำกัดในด้านวงเงินการระดมทุน
2. การที่ Equity Crowdfunding ให้หุ้นที่ออกใหม่ของบริษัทเป็นสิ่งตอบแทนแก่ผู้ลงทุน จึงถือเป็นการเสนอขายหุ้นต่อประชาชนรูปแบบหนึ่งที่จะต้องได้รับอนุญาตจาก ก.ล.ต. อย่างไรก็ตาม เนื่องจาก SMEs ส่วนใหญ่ แม้มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจของประเทศ แต่ปัจจุบันอาจมีปัญหาการเข้าถืงแหล่งเงินทุนเนื่องจากยังอยู่ในช่วงเริ่มต้นธุรกิจ ไม่มีหลักประกันที่เอามาใช้ในการกู้ยืม ดังนั้น ก.ล.ต. จึงได้มีนโยบายสนับสนุนให้ SMEs มีช่องทางเลือกในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนจากตลาดทุนเพิ่มเติม ทั้งนี้ การกำกับดูแลจะต้องไม่สร้างภาระและต้นทุนที่สูงจนเกินไปจนเป็นอุปสรรคต่อการระดมทุนของ SMEs ในขณะเดียวกันผู้ลงทุนยังต้องได้รับความคุ้มครองในระดับที่เหมาะสม
3. สำนักงาน ก.ล.ต. จึงใช้แนวทางกำกับดูแลแบบผ่อนคลายสำหรับการเสนอขายหุ้นแบบ Equity Crowdfunding กล่าวคือ
3.1 ในด้านบริษัทที่เสนอขายหุ้น: บริษัทที่ต้องการระดมทุน (ซึ่งเป็นได้ทั้งบริษัทจำกัดและบริษัทมหาชนจำกัด) จะต้องเสนอขายหุ้นผ่าน funding portal ที่ได้รับความเห็นชอบจาก ก.ล.ต. เท่านั้น จึงจะถือว่าการเสนอขายหุ้นได้รับอนุญาตจาก ก.ล.ต. โดยบริษัทมีหน้าที่และรับผิดชอบเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับตัวบริษัทและการนำเงินไปใช้ในโครงการ โดยที่ ก.ล.ต. จะไม่ได้เข้าไปกลั่นกรองคุณสมบัติของบริษัทที่เสนอขายหุ้น ดังนั้น funding portal จึงมีบทบาทสำคัญในการทำหน้าที่คัดสรรบริษัทที่น่าเชื่อถือมาเสนอขายหุ้น จัดให้มีช่องทางรองรับการเปิดเผยข้อมูลของบริษัท การจองซื้อหุ้น และการสื่อสารระหว่างบริษัทและผู้ลงทุน รวมทั้งการให้ความรู้แก่สมาชิกที่เข้ามาลงทุน
3.2 ในด้านผู้ลงทุน : เนื่องจากธุรกิจที่เข้ามาระดมทุนด้วยวิธี Equity Crowdfunding เป็นธุรกิจที่อยู่ในช่วงเริ่มต้น จึงยังมีความเสี่ยงสูงต่อความอยู่รอดของธุรกิจ และหากเป็น startup โอกาสที่จะประสบความสำเร็จภายใต้โครงการอาจจะไม่มากนัก (ในต่างประเทศมีความสำเร็จเฉลี่ยเพียง 20-30%) ในขณะที่อาจสามารถสร้างผลตอบแทนให้แก่ผู้ลงทุนได้สูงมากจนคุ้มกับส่วนที่สูญเสียไป ดังนั้น ผู้ที่ต้องการลงทุนผ่านช่องทางนี้จึงต้องเข้าใจถึงความเสี่ยงและดูแลตนเองมากขึ้น โดย ก.ล.ต.ได้ออกเกณฑ์มาเพื่อจำกัดระดับความเสี่ยงหรือความเสียหายในการลงทุนไว้ในระดับหนึ่ง ทั้งในรูปของวงเงินการลงทุน (investment limit) สำหรับนักลงทุนรายย่อย และวงเงินการระดมทุน (issue size) สำหรับผู้ระดมทุน
อนึ่ง แม้ว่า ก.ล.ต. จะมีกฎเกณฑ์ที่ช่วยจำกัดความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นกับผู้ลงทุนรายย่อย ไว้ก็ตามแต่ผู้ลงทุนจะต้องศึกษาข้อมูล ทำความเข้าใจกับความเสี่ยงของธุรกิจ และการลงทุนแบบ Equity Crowdfunding ด้วย เช่น ความเสี่ยงที่อาจจะสูญเงินจากการลงทุนทั้งจำนวน บริษัทอาจจะจ่ายหรือไม่จ่ายเงินปันผลก็ได้ หุ้นที่ซื้อไม่มีตลาดรอง เป็นต้น
ทั้งนี้ เพื่อเป็นเครื่องมือให้นักลงทุนรายย่อยได้ทำความเข้าใจเกี่ยวกับความเสี่ยงที่กล่าว ก.ล.ต.จึงได้กำหนดให้ funding portal จะต้องจัดทำการทดสอบความรู้ด้านการลงทุน (Knowledge Test) เพื่อให้แน่ใจว่าผู้ลงทุนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความเสี่ยง รวมทั้งเตือนให้ผู้ลงทุนให้ระมัดระวังก่อนตัดสินใจลงทุนอีกทางหนึ่งด้วย
4. ปัจจุบัน แม้ว่า ก.ล.ต. ได้ออกกฎเกณฑ์รองรับ Equity Crowdfunding แล้วก็ตาม แต่ความสำเร็จของ Equity Crowdfunding จะต้องเกิดขึ้นจากความร่วมมือของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ตั้งแต่ (1) Funding Portal ซึ่งจะทำหน้าที่คัดสรรบริษัทที่น่าเชื่อถือมาระดมทุน (ทั้งในด้านของการทำธุรกิจและการเปิดเผยข้อมูลที่เพียงพอต่อการตัดสินใจลงทุน) จัดให้มี platform การเปิดเผยข้อมูลและจองซื้อหุ้นที่เชื่อถือได้ รวมถึงจัดให้มีช่องทางให้ผู้ระดมทุนกับผู้ลงทุนได้สื่อสารกัน (2) Issuer ที่มีความตั้งใจจริงที่จะนำเงินที่ได้รับจากการระดมทุนไปดำเนินงานตามแผนธุรกิจที่ได้นำเสนอไว้ และสื่อสารเป็นระยะเพื่อให้ผู้ลงทุนสามารถติดตามความคืบหน้าของบริษัท และ (3) Investor ที่มีความรู้และเข้าใจเกี่ยวกับความเสี่ยงในการลงทุนผ่าน Equity Crowdfunding รวมทั้งรับผิดชอบในการประเมินตัวเองว่ายอมรับความเสี่ยงเหล่านั้นได้หรือไม่ก่อนที่จะลงทุน
5. สำหรับผู้ที่สนใจเป็น Funding portal ก.ล.ต. ยินดีให้คำปรึกษา โดยสามารถเข้ามาพูดคุยหารือได้ โดยติดต่อฝ่ายใบอนุญาตธุรกิจตัวกลางและส่งเสริมธุรกิจ SME ดังนี้
คุณบุตรี หวังศิริรุ่งเรือง โทร 0-2263-6047
คุณภูมินทร์ มีถาวรกุล โทร 0-2263-6538
คุณณัฐฐิรา จิรเสวีนุประพันธ์ โทร 0-2695-9562
1 จำกัดเฉพาะกรณีนักลงทุนรายย่อย โดยกำหนดวงเงินให้ลงทุนได้ไม่เกินรายละ 50,000 บาทต่อบริษัท และรวมแล้วไม่เกินปีละ 500,000 บาท ทั้งนี้ ในกรณีที่มีการระดมทุนจากผู้ลงทุนที่มีความรู้และประสบการณ์ด้านการลงทุนอยู่แล้ว (non-retail investors) เช่น ผู้ลงทุนสถาบัน Venture capital ผู้ลงทุนที่มีลักษณะเฉพาะ เป็นต้น จะไม่มีข้อจำกัดในด้านวงเงินการลงทุน
2 จำกัดวงเงินเฉพาะการระดมทุนจากนักลงทุนรายย่อย โดยกำหนดมูลค่าที่บริษัทจะระดมทุนจากผู้ลงทุนรายย่อยได้รวมไม่เกินบริษัทละ 40 ล้านบาท โดยในปีแรกต้องไม่เกิน 20 ล้านบาท ทั้งนี้ ในกรณีที่มีการระดมทุนจากผู้ลงทุนที่มีความรู้และประสบการณ์ด้านการลงทุนอยู่แล้ว (non-retail investors) จะไม่มีข้อจำกัดในด้านวงเงินการระดมทุน