ก.ล.ต. กล่าวโทษอดีตกรรมการและผู้บริหาร PRO กับพวก รวม 4 ราย กรณีจัดทำบัญชีเท็จ
ก.ล.ต. กล่าวโทษอดีตกรรมการและผู้บริ หารบริษัทโปรเฟสชั่นแนล เวสต์ เทคโนโลยี (1990) จำกัด (มหาชน) (PRO) ได้แก่ นายสินเสถียร เอี่ยมพูลทรัพย์ นายเกรียงไกร เลิศศิริสัมพันธ์ นางสาวรติยา สังข์ด้วง และนายสมสิทธิ์ มูลสถาน กรรมการผู้จัดการ บริษัท เทอร์ม เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด ต่อกรมสอบสวนคดีพิเศษ กรณีร่วมกันจัดเอกสารเท็จ ทำให้ PRO ลงบัญชีไม่ถูกต้อง ไม่ตรงต่อความเป็นจริง ตั้งแต่งวดไตรมาส 2/2549 ถึงไตรมาส1/2552 เกี่ยวกับรายการเงินให้กู้ยื มแก่บุคคลภายนอก เงินลงทุนในโครงการแปรรูป อลูมิเนียม และการซื้อเครื่องจักรใช้ ในโครงการกลั่นน้ำมั นจากขยะพลาสติกเข้าข่ายเป็นความผิดตามมาตรา 312 และ 315 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ.2535
บุคคลที่ถูกกล่าวโทษข้างต้น เข้าข่ายมีลักษณะขาดความน่าไว้ วางใจในการเป็นกรรมการและผู้บริ หารของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ และบริษัทจดทะเบียน ซึ่งกำหนดในประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. และไม่อาจดำรงตำแหน่ งกรรมการและผู้บริหารโดยผลของพร ะราชบัญญัติหลักทรัพย์ฯ ฉบับเดียวกัน
อนึ่ง การกล่าวโทษของ ก.ล.ต. เป็นเพียงจุดเริ่มต้ นของกระบวนการบังคับใช้ กฎหมายทางอาญาเท่านั้น ภายใต้กระบวนการนี้ การพิจารณาวินิจฉัยว่าบุ คคลใดเป็นผู้กระทำผิดทางอาญาเป็ นอำนาจและดุลพินิจของศาลยุติ ธรรม
เอกสารแนบข่าว : รายละเอียดของการกล่าวโทษ
เมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2558 ก.ล.ต. กล่าวโทษต่อกรมสอบสวนคดีพิเศษ เพื่อให้ดำเนินการตามกฎหมาย กับบุคคลรวม 4 ราย ได้แก่ นายสินเสถียร เอี่ยมพูลทรัพย์ ขณะกระทำผิดเป็นประธานกรรมการบริหาร และกรรมการผู้จัดการของบริษัทโปรเฟสชั่นแนล เวสต์ เทคโนโลยี (1990) จำกัด (มหาชน) (“PRO”) นายเกรียงไกร เลิศศิริสัมพันธ์ ขณะกระทำผิดเป็นรองกรรมการผู้จัดการสายงานบัญชีการเงินและบริหารสำนักงานของ PRO (ปัจจุบันดำรงตำแหน่งประธานกรรมการบริหาร (รักษาการ) และกรรมการผู้จัดการ (รักษาการ) ของ PRO) นางสาวรติยา สังข์ด้วง ขณะกระทำผิดเป็นผู้ช่วยรองกรรมการผู้จัดการสายงานบัญชีการเงินและบริหารสำนักงาน และผู้จัดการฝ่ายการเงินของ PRO และนายสมสิทธิ์ มูลสถาน กรรมการผู้จัดการของ บริษัทเทอร์ม เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด กรณีร่วมกันกระทำการและให้ความช่วยเหลือสนับสนุนให้มีการจัดทำเอกสารปลอม ลงข้อความและบันทึกบัญชีของ PRO เป็นเท็จ ไม่ถูกต้องและไม่ตรงต่อความเป็นจริง เพื่อลวงบุคคลใด ๆ อันเข้าข่ายความผิดตามมาตรา 312 และมาตรา 315 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และ ตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535
จากการตรวจสอบของ ก.ล.ต. พบพยานหลักฐานน่าเชื่อว่า สืบเนื่องจาก PRO ซึ่งประกอบธุรกิจให้บริการบำบัดกากอุตสาหกรรมหรือวัสดุไม่ใช้แล้วที่อันตรายและไม่อันตราย รวมทั้งน้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรมต่าง ๆ ได้ถูกทางการสั่งปิดโรงงานบำบัดที่ตั้งอยู่ที่จังหวัดสระแก้วเป็นเวลา 18 เดือน เพื่อแก้ไขปัญหา กากของเสียส่งกลิ่นเหม็นรุนแรง นายสินเสถียรและนายเกรียงไกร ผู้บริหาร PRO ในขณะนั้น จึงได้ร่วมกันตัดสินใจและสั่งการจ่ายเงินออกจาก PRO ประมาณ 200 กว่าล้านบาท โดยอ้างว่าจ่ายเงินออกไปให้แก่ บุคคลหลายราย เพื่อให้ PRO สามารถกลับมาดำเนินงานได้ตามปกติ แต่การจ่ายเงินดังกล่าวไม่มีหลักฐาน การรับ-จ่ายเงินที่จะนำมาใช้ประกอบการบันทึกบัญชีได้ บุคคลทั้งสองรายจึงสั่งการหรือยินยอมให้มี การจัดทำเอกสารเท็จและดำเนินการให้ PRO ลงบัญชีไม่ถูกต้อง ไม่ตรงต่อความเป็นจริง ในระหว่าง งวดไตรมาส 2 ปี 2549 ถึงไตรมาส 1 ปี 2552 โดยจัดทำเอกสารและบันทึกรายการจ่ายเงินที่ไม่มีหลักฐานดังกล่าวเป็นเงินให้กู้ยืมแก่บุคคลภายนอกหลายรายในระหว่างไตรมาส และจัดทำเอกสารและบันทึกรายการว่าได้รับชำระคืนเงินให้กู้ยืมทั้งหมดก่อนสิ้นไตรมาส และเมื่อเข้าสู่ไตรมาสใหม่ได้บันทึกการให้กู้ยืมเงิน และการได้รับคืนเงินให้กู้ยืมในระหว่างไตรมาสใหม่ โดยรายการให้กู้ยืมเงินอันเป็นเท็จในแต่ละไตรมาส มีจำนวนเงินตั้งแต่ 23 ล้านบาท จนถึง 320 ล้านบาท ต่อมาในช่วงเดือนธันวาคม 2550 ได้บันทึกบัญชีว่า มีการจ่ายเงินจำนวน 120 ล้านบาท เพื่อซื้อหุ้นของบริษัทเจทีเอส อลูมิเนียม แอนด์ เมทเทิล จำกัด และในช่วงเดือนตุลาคม 2551 บันทึกบัญชีการจ่ายเงินเพื่อซื้อเครื่องจักรรวมเงินจำนวน 106.8 ล้านบาท ซึ่งมาจากส่วนต่างของราคาเครื่องจักรที่สูงกว่าราคาที่ซื้อขายจริงและมัดจำค่าเครื่องจักรล่วงหน้าให้แก่บริษัทเทอร์ม เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด และนำค่าซื้อหุ้นและค่าเครื่องจักรดังกล่าวกลับมาบันทึกเป็นรายการรับชำระเงินจากลูกหนี้ที่กู้ยืมเงินจาก PRO ซึ่งเป็นเท็จ การกระทำดังกล่าวจึงเข้าข่ายความผิดตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์ฯ โดยมี นางสาวรติยาและนายสมสิทธิ์ให้ความช่วยเหลือสนับสนุน
อนึ่ง การกล่าวโทษของ ก.ล.ต. เป็นเพียงจุดเริ่มต้นของกระบวนการบังคับใช้กฎหมายทางอาญาเท่านั้น ภายใต้กระบวนการนี้ การพิจารณาวินิจฉัยว่าบุคคลใดเป็นผู้กระทำผิดทางอาญาเป็นอำนาจและดุลพินิจ ของศาลยุติธรรม
ทั้งนี้ บุคคลที่อยู่ระหว่างถูกกล่าวโทษดำเนินคดีโดย ก.ล.ต. เพราะเหตุจงใจแสดงข้อความอันเป็นเท็จดังกล่าว เป็นบุคคลที่มีลักษณะขาดความเหมาะสมที่จะได้รับความไว้วางใจให้บริหารกิจการที่มีมหาชนเป็นผู้ถือหุ้น ตามข้อ 3 ประกอบข้อ 4 (3) ของประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กจ. 8/2553 เรื่อง การกำหนดลักษณะ ขาดความน่าไว้วางใจของกรรมการและผู้บริหารของบริษัท ลงวันที่ 23 เมษายน 2553 โดยบุคคลที่อยู่ระหว่าง ถูกกล่าวโทษจะต้องพ้นจากตำแหน่งกรรมการหรือผู้บริหารของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์และบริษัทจดทะเบียน และจะดำรงตำแหน่งกรรมการและผู้บริหารในบริษัทต่อไปไม่ได้ตามนัยมาตรา 89/4 และมาตรา 89/6 วรรคสองแห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์ฯ ด้วยผลแห่งกฎหมายดังกล่าว ก.ล.ต. จึงไม่สามารถแสดงชื่อของนายเกรียงไกร เลิศศิริสัมพันธ์ ในระบบข้อมูลรายชื่อกรรมการหรือผู้บริหารบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ตั้งแต่วันที่ ก.ล.ต. กล่าวโทษเป็นต้นไป
ทั้งนี้ บุคคลที่อยู่ระหว่างถูกกล่าวโทษดำเนินคดีโดย ก.ล.ต. เพราะเหตุจงใจแสดงข้อความอันเป็นเท็จดังกล่าว เป็นบุคคลที่มีลักษณะขาดความเหมาะสมที่จะได้รับความไว้วางใจให้บริหารกิจการที่มีมหาชนเป็นผู้ถือหุ้น ตามข้อ 3 ประกอบข้อ 4 (3) ของประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กจ. 8/2553 เรื่อง การกำหนดลักษณะ ขาดความน่าไว้วางใจของกรรมการและผู้บริหารของบริษัท ลงวันที่ 23 เมษายน 2553 โดยบุคคลที่อยู่ระหว่าง ถูกกล่าวโทษจะต้องพ้นจากตำแหน่งกรรมการหรือผู้บริหารของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์และบริษัทจดทะเบียน และจะดำรงตำแหน่งกรรมการและผู้บริหารในบริษัทต่อไปไม่ได้ตามนัยมาตรา 89/4 และมาตรา 89/6 วรรคสองแห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์ฯ ด้วยผลแห่งกฎหมายดังกล่าว ก.ล.ต. จึงไม่สามารถแสดงชื่อของนายเกรียงไกร เลิศศิริสัมพันธ์ ในระบบข้อมูลรายชื่อกรรมการหรือผู้บริหารบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ตั้งแต่วันที่ ก.ล.ต. กล่าวโทษเป็นต้นไป